วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

คำศัพท์เกี่ยวกับ ความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์




1. Malware ย่อมาจาก  malicious software หมายถึง ไวรัส หนอนอินเตอร์เน็ต และโทรจัน ที่มีพฤติกรรมรบกวนและสร้างความเสียหายแก่ระบบเครื่องคอมพิวเตอร์ 
2. Viruses  ไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อก่อกวนทำลายระบบคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลชุดคำสั่ง หรืออุปกรณ์ต่างๆ เช่น แผ่นดิสก์ ฮาร์ดดิสก์ หน่วยความจำคอมพิวเตอร์ และเป็นโปรแกรมที่สามารถกระจายจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่ง ไปยังคอมพิวเตอร์อีกตัวหนึ่งได้โดยผ่านระบบสื่อสารคอมพิวเตอร์ เช่น โดยผ่านทาง แผ่นบันทึกข้อมูล (Diskette) หรือระบบเครือข่ายข้อมูล
     3. Key Logger คืออาชญากรรมที่เกิดขึ้นกับคอมพิวเตอร์ที่รุนแรงมากอย่างหนึ่ง เพราะผู้ไม่หวังดีจะบันทึกการกดแป้นพิมพ์บนคอมพิวเตอร์ของคุณ ขโมยข้อมูลทุกอย่างที่อยู่บนเครื่อง ตั้งแต่รหัสผ่านอีเมล รหัสถอนเงินผ่าน e-banking รหัสซื้อขายหุ้น และความลับทุกอย่างที่คุณพิมพ์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งแฮกเกอร์พวกนี้จะนำข้อมูลของคุณไปเพื่อข่มขู่ แบล็กเมล นำรหัสบัตรเครดิตไปซื้อสินค้า รวมทั้งนำข้อมูลไปใช้ในทางมิชอบอื่นๆ
    4.Phishing คือ การปลอมแปลง e-mailหรือ web site รูปแบบหนึ่งโดยส่วนใหญ่จะมีวัตถุประสงค์ที่จะต้องการข้อมูลข่าวสารต่างๆ โดยส่วนมากข่าวสารที่คนส่ง phishing ต้องการมากก็คือuser, Passwordและหมายเลขบัตรเครดิต โดย phishing ส่วนมากจะเสแสร้งว่ามาจากบริษัทที่มีความน่าเชื่อถือหรือว่ามาจากบริษัทที่เหยื่อเป็นสมาชิกอยู่ โดยบริษัทที่มักจะโดนกันไปบ่อยก็ได้แก่eBay.com, PayPal.com และonline banks ต่าง
5. Physical Control คือ การจัดให้มีสภาพแวดล้อมทางกายภายที่เหมาะสม เช่น  การจัดให้มี Access Control ควบคุมการเข้า - ออก   การจัดแบ่งพื้นที่สำคัญ เช่น Data Center ออกจากพื้นที่ปฏิบัติงานปกติ  การจัดเก็บสายเคเบิลต่างๆ ให้เรียบร้อย
    6. Technical Control   คือ การใช้ซอฟต์แวร์หรืออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มาช่วยควบคุมและจัดการด้าน Security เช่น Encryption , Anit-virus ,Firewall
    7. Administrative Control  คือ การจัดให้มีนโยบายระเบียบวิธีการปฏิบัติงาน(Procedure) , การฝึก อบรม ที่เหมาะสมสำหรับบุคลากรทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กร รวมถึง Third Party และ Outsource ด้วย
     8. Competency หมายถึง ความรู้ความสามารถและพฤติกรรมที่องค์กรต้องการ ไม่ใช่ความสามารถ หรือสมรรถนะตามที่มีผู้แปลกัน เพราะบุคลากรในองค์กรที่มีความรู้ ความสามารถมาก แต่อาจไม่ได้มีตรงกับสิ่งที่องค์กรต้องการก็ได้ เท่ากับองค์กรอาจกำลังจ่ายค่าความสามารถของคน ๆ นั้นไปฟรี ๆ ก็ได้
     9. Commitment หมายถึง ความผูกพันหรือหากให้ตรงความคือสัญญาใจ ซึ่งกินความลึกซึ่งกว่าความผูกพันมากนัก สัญญาใจนี้มี 2 ระดับ คือ สัญญาใจกับงาน และสัญญาใจกับองค์กร
 10. Sniffer คือโปรแกรมที่เอาไว้ดักอ่านของมูลที่วิ่งอยู่บน Traffic (Traffic แปลเลย ตรงตัว คือการจราจรบนระบบ network นะ) มันทำหน้าที่ดักอ่านข้อมูลที่วิ่งไปวิ่งมาบนเน็ตเวิร์คที่มันอยู่ (คล้ายๆ การดักฟังโทรศัพท์ แต่การดักฟังโทรศัพท์จะทำได้ทีละเครื่อง แต่ sniffer ทำได้ทีเดียวทั้ง network เลย) การใช้ sniffer เข้ามาใน ระบบ network นั้นทำให้มาตราการรักษาความปลอดภัยบน network นั้นด่ำลง
11. Physical Attack  การโจมตีทางกายภาพการขโมยหรือการทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ เครือข่ายcomponent ต่างๆ หรือระบบสนับสนุนต่างๆ (เช่น เครื่องปรับอากาศ ระบบไฟฟ้า ฯลฯเสียหายทางกายภาพ
12. Retro-Virus เป็น virus ที่รออยู่จนกระทั่ง backup media ที่มีอยู่ทั้งหมดติดเชื้อก่อน ดังนั้นจึงทำให้ไม่สามารถฟื้นฟูระบบให้กลับสู่สภาพเดิมได้
13. Scan การเข้าถึงเป้าหมายกลุ่มหนึ่งโดยเข้าถึงทีละเป้าหมาย เพื่อที่จะตรวจสอบว่าเป้าหมายใดมีคุณลักษณะเฉพาะที่มองหาอยู่
14. Security Audit การตรวจหาในระบบคอมพิวเตอร์ถึงปัญหาและความล่อแหลมทางความปลอดภัยต่างๆ
15. Security Violation การล่วงล้ำความปลอดภัย:การที่ผู้ใช้หรือบุคคลอื่นข้ามผ่าน หรือเอาชนะการควบคุมของระบบให้ได้มาซึ่งการเข้าถึงข้อมูลในระบบหรือการเข้าถึงทรัพยากรของระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต
16. Terminal Hijacking การที่ผู้โจมตีที่อยู่บนเครื่องหนึ่งควบคุม session บน terminalใดๆ ที่กำลังดำเนินอยู่hacker ที่โจมตีสามารถส่งและรับ I/O ของ terminal ในขณะที่ผู้ใช้กำลังใช้terminal นั้นอยู่
17. Worm โปรแกรมอิสระที่สำเนาตัวเองจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งโดยผ่านทางการเชื่อมต่อทางเครือข่ายและโดยปกติจะเป็นที่กีดขวางในการวิ่งของ traffic ในเครือข่ายและระบบข้อมูลในระหว่างที่ตัวมันกระจายตัวเองออกไป
18. Internet Worm โปรแกรม worm ที่ถูกปล่อยลงบน Internet เมื่อปี 1988 RobertT. Morris เป็นผู้เขียนโปรแกรมนี้โดยแรกเริ่มเป็นการทดลองแต่ต่อมาไม่สามารถควบคุมมันได้อย่างเหมาะสม
19. Cryptography การเข้ารหัสลับ:ศิลปะในศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับหลักการ ตัวกลาง และวิธีการในการทำให้ข้อความธรรมดาไม่สามารถถูกอ่านได้โดยเข้าใจ และในการแปลงข้อความที่ถูกเข้ารหัสลับกลับเป็นข้อความธรรมดา
20. Firewall  ระบบหนึ่งหรือหลายระบบรวมกันที่สร้างหรือบังคับให้มีเส้นแบ่งเขตระหว่างสองเครือข่ายขึ้นไป
เป็น Gateway ที่จำกัดการเข้าถึงในเครือข่ายต่างๆ ให้เป็นไปตามนโยบายการรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายนั้นๆFirewall ที่ใช้กันทั่วไปจะเป็นเครื่อง micro computer ราคาไม่สูง
มากที่ run UNIX อยู่บนเครื่องนี้จะไม่มีข้อมูลที่สำคัญอยู่ จะมี modem และ portต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายภายนอก และมีเพียง port เดียว(ที่ได้รับการเฝ้าดูอย่างใกล้ชิดต่อกลับมายังเครือข่ายภายใน

21. Access การเข้าถึง: การจัดตั้งการสื่อสารหรือการติดต่อซึ่งอาจเป็นได้ทั้งทางตรรกะ(logical) หรือ ทางกายภาพ (physical)
22. Action การกระทำ:ขั้นตอนที่ผู้ใช้หรือ process ใช้ในการที่จะให้บรรลุผลอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การ probe, scan, flood, authenticate, ข้ามผ่าน (bypass), spoof, อ่าน (read), สำเนา (copy), ขโมย
(steal), เปลี่ยนแปลง (modify), หรือ ลบ (delete) 
23. Active Attack การโจมตีแบบ active:การโจมตีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนสถานะโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่น
การเปลี่ยนแปลง file หรือการเพิ่ม file ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไป
24. Administrative Security การบริหารเรื่องความปลอดภัย:ข้อกำหนดทางการจัดการและสิ่งควบคุมเสริมต่างๆที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้การป้องกันข้อมูลอยู่ในระดับที่ยอมรับได้
25. Alert การแจ้งเตือน: ข้อความที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อใช้อธิบายสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง กับความปลอดภัยของเครือข่าย การแจ้งเตือนมักจะเกิดมาจากการตรวจสอบ (audit) ที่สำคัญ (critical)
26. Anomaly Detection Model แบบแผนที่ใช้ในการตรวจจับการบุกรุกโดยมองหากิจกรรมของผู้ใช้หรือของระบบที่ผิดแปลกไปจากปกติ
27. Application Level Gateway(Firewall) Gateway ระดับ Application (Firewall): ระบบ firewall ที่มี process หนึ่งให้บริการโดยที่มีการคงไว้ซึ่งสถานะและลำดับขั้นต่างๆ ในการเชื่อมต่อแบบ TCP โดย
สมบูรณ์ firewall ในระดับ application นี้ส่วนใหญ่จะเปลี่ยน address ของ traffic โดยทำให้ traffic ที่ออกไปเป็นเสมือนกับ traffic ที่มีแหล่งกำเนิดจาก firewall เอง แทนที่จะกำเนิดจาก host ภายใน
28. ASIM - Automated Security Incident Measurement การวัดเหตุการณ์ความปลอดภัยแบบอัตโนมัติ: การเฝ้าดู traffic ในเครือข่ายและเก็บสะสมข้อมูลจากเครือข่าย เป้าหมายโดยการตรวจจับกิจกรรมที่ไม่ได้รับอนุญาตในเครือข่าย
29. Assessment การประเมิน: การสำรวจและตรวจสอบ การวิเคราะห์ถึงความล่อแหลม (vulnerability) ของระบบข้อมูลอัตโนมัติ กระบวนการนำมาและตรวจดูซึ่งข้อมูล ที่จะช่วยผู้ใช้ให้สามารถตัดสินใจถึงการใช้ทรัพยากรในการปกป้องข้อมูลในระบบ
30. Assurance การรับรอง: สิ่งบ่งบอกถึงความมั่นใจว่าระบบความปลอดภัยและสถาปัตยกรรมของระบบข้อมูลอัตโนมัตินั้นนำมาซึ่งการใช้บังคับนโยบายรักษาความปลอดภัยได้อย่างถูกต้อง

31. Personal Firewall คือ ซอฟแวร์ที่ใช้เพื่อควบคุมการเข้า-ออก หรือควบคุมการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ภายในองค์กรเดียวกัน หรือภายนอก และเพิ่มความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้มากขึ้น นอกจากโปรแกรม Anti-Virus ที่จำเป็นต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราแล้ว Personal Firewall ก็มีความจำเป็นไม่น้อยไปกว่าโปรแกรม Anti-Virus เลย ดังนั้นการใช้งานโปรแกรม ดังกล่าวจึงควรใช้งานควบคู่กันไปเพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่าคอมพิวเตอร์ของคุณอยู่ในสถานะปลอดภัยและจะไม่ถูกคุกคามจากผู้ที่ประสงค์ร้ายทั้งหลาย
32. Antivirus-Gateway เป็นบริการตรวจสอบ ค้นหา ป้องกัน และ กำจัด ไวรัส ที่ติดมากับ Email ต่าง ๆ ของผู้ใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็น Email ขาออก หรือ Email ขาเข้า โดยปกติแล้วใน องค์กรหนึ่ง ๆ นั้น จะมีการติดตั้ง โปรแกรม Antivirus ให้กับเครื่องของผู้ใช้งาน (Client) ในทุก ๆ เครื่อง เพื่อป้องกัน ไวรัส ที่อาจจะมาจากที่ต่าง ๆ ซึ่งหากผู้ใช้งานลืม Update Antivirus ก็จะทำให้ ไวรัส สามารถแพร่กระจาย ไปในองค์กร ได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ ไวรัสที่ติดมากับ Email ต่าง ๆ แต่ระบบ Antivirus-Gateway นั้น เปรียบเสมือนด่านหน้า ที่คอยตรวจสอบ ค้นหา ป้องกัน และ กำจัดไวรัส ต่าง ๆ ที่จะผ่านเข้ามา ในองค์กรของเรา ทำให้Email ที่ผ่านการตรวจสอบจาก Antivirus-Gateway แล้วนั้นปลอดภัย ถึงแม้ว่า ผู้ใช้ในองค์กร จะลืมทำการ โปรแกรม Update Antivirus ก็ไม่ต้องกังวล เรื่องความปลอดภัย ของอีเมล์ที่เข้ามา
33. Backup คือ การสำรองข้อมูล เป็นกิจกรรมคัดลอกไฟล์และฐานข้อมูล ดังนั้นพวกเขาจะป้องกันในกรณีของอุปกรณ์ล้มเหลวหรือภัยอื่น โดยทั่วไป การสำรองข้อมูลเป็นงานปกติของปฏิบัติการของข้อมูลขนาดใหญ่กับเครื่องเมนเฟรม และผู้บริหารระบบของคอมพิวเตอร์ธุรกิจขนาดเล็ก สำหรับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การสำรองข้อมูลมีความจำเป็นเช่นกัน แต่มักถูกละเลย การดึงไฟล์ที่การสำรองไว้ เรียกว่าการฟื้นฟู (restore)
34. Virtual Private Network เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่ายนอกอาคาร (WAN - Wide Area Network) เป็นระบบเครือข่ายภายในองค์กร ซึ่งเชื่อมเครือข่ายในแต่ละสาขาเข้าด้วยกัน โดยอาศัย Internetเป็นตัวกลาง มีการทำ Tunneling หรือการสร้างอุโมงค์เสมือนไว้รับส่งข้อมูล มีระบบเข้ารหัสป้องกันการลักลอบใช้ข้อมูล เหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งต้องการความคล่องตัวในการติดต่อรับส่งข้อมูลระหว่างสาขา มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับ Private Network
35. Intrusion Prevention System ระบบที่คอยตรวจจับการบุกรุกของผู้ที่ไม่ประสงค์ดี รวมไปถึงข้อมูลจำพวกไวรัสด้วย โดยสามารถทำการ วิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดที่ผ่านเข้าออกภายในเครือข่ายว่า มีลักษณะการทำงานที่เป็นความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความ เสียหายต่อระบบเครือข่ายหรือไม่ โดยระบบ IDS นี้ จะทำการแจ้งเตือนให้ผู้ดูแลระบบทราบ
36. Network Security   การรักษาความปลอดภัยเครือข่าย: การปกป้องเครือข่ายและบริการต่างๆของเครือข่ายจากการเปลี่ยนแปลงทำลายหรือเปิดเผยโดยไม่ได้รับอนุญาต และให้ความรับรองว่าเครือข่ายจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ที่สำคัญได้อย่างถูก ต้องโดยไม่เกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย การรักษาความปลอดภัยเครือข่ายรวมถึงการรักษาความสมบูรณ์ของข้อมูล (Data Integrity)
37. Hacking การใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการพยายามที่จะใช้อุบายหรือข้ามผ่านระบบรักษาความปลอดภัยเพื่อเข้าสู่ระบบข้อมูลและเครือข่าย
38. Information Security การรักษาความปลอดภัยโดยการใช้นโยบายหรือระเบียบปฏิบัติ
39. Confidentiality คือการรักษาความลับของข้อมูลเพื่อไม่ให้ผู้ไม่มีสิทธิ์ในการใช้งานสามารถใช้ข้อมูลนั้นได้
40. RISK Management หมายถึง โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่ทำให้งานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด หรือ ความเสี่ยง คือ ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นและมีผลต่อการบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งใจไว้ ความเสี่ยงนี้จะถูกวัดด้วยผลกระทบที่ได้รับและความน่าจะเป็นของเหตุการณ์ หรือ โอกาสหรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่จะทำให้เราไม่บรรลุวัตถุประสงค์” ภาษาง่าย ๆ “ ความเสี่ยง คือ สิ่งต่าง ๆที่อาจกีดกันองค์กรจากการบรรลุวัตถุประสงค์/เป้าหมาย
41. PKI คือ ระบบป้องกันข้อมูลวนการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนท PKIจะใช้กุญแจคู่ (Key pairs) ในการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูลโดย กุญแจนี้ประกอบด้วย กุญแจส่วนตัว (Private Key) และกุญแจสาธารณะ (Public Key)
 42. Denial of Service หมายถึงการถูกโจมตีหรือถูกส่งคาร้องขอต่าง ๆ จากเครื่องปลายทางจานวนมากในช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งทาให้เครื่องแม่ข่าย(Server)ที่เปิดให้บริการต่าง ๆ ไม่สามารถให้บริการได้
43. Non-Repudiation คือ วิธีการสื่อสารซึ่งผู้ส่งข้อมูลได้รับหลักฐานว่าได้มีการส่งข้อมูลแล้วและผู้รับก็ได้รับการยืนยันว่าผู้ส่งเป็นใคร ดังนั้นในภายหน้าทั้งผู้ส่งและผู้รับจะไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว
44. Private key คือ กุญแจส่วนตัว ซึ่งใช้ถอดรหัสข้อมูล ( Decryption เนื่องจากความต้องการที่จะรักษาข้อมูลให้เป็นความลับ จึงต้องมีการแปลงข้อมูลโดยการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption ) เพื่อไม่ให้บุคคลอื่นสามารถอ่านข้อมูลนั้นได้ โดยให้เฉพาะบุคคลที่ได้รับอนุญาต สามารถอ่านเข้าใจได้เท่านั้น 
45. Cryptography หรือ ระบบการรหัส หมายถึง ระบบที่ผู้ส่งข้อความเข้ารหัส (Encrypt) เปลี่ยนแปลงข้อมูล จากข้อความปกติ (Plain Text) ไปเป็นข้อความที่เข้ารหัส (Cipher text) หลังจากนั้นจึงส่งข้อความไปให้ผู้รับ ทางผู้รับจะถอดรหัสข้อมูล (Decrypt)เพื่อให้ได้ข้อความปกติเหมือนดังที่ส่งมา วัตถุประสงค์ของ Cryptography ก็เพื่อที่จะปกปิดข้อมูลให้เป็นความลับในระหว่างที่ส่งข้อมูล โดยแม้จะมีผู้แอบลักลอบดูข้อมูลก็ไม่สามารถอ่านข้อความนั้นๆ ได้ เนื่องจากได้เป็นข้อมูลที่อ่านไม่ออกเพราะไม่สามารถถอดรหัสให้อ่านออกได้
46. Public key คือ การเข้ารหัสและถอดรหัสโดยใช้กุญแจรหัสคนละตัวกัน การส่งจะมีกุญแจรหัสตัวหนึ่งในการเข้ารหัส และผู้รับก็จะมีกุญแจรหัสอีกตัวหนึ่งเพื่อใช้ในการถอดรหัส ผู้ใช้รายหนึ่งๆจึงมีกุญแจรหัส ค่าเสมอคือ กุญแจสาธารณะ (public key)และ กุญแจส่วนตัว (private key) ผู้ใช้จะประกาศให้ผู้อื่นทราบถึงกุญแจสาธารณะของตนเองเพื่อให้นำไปใช้ในการเข้ารหัสและส่งข้อมูลที่เข้ารหัสแล้วมาให้ ข้อมูลที่เข้ารหัสดังกล่าวจะถูกถอดออกได้โดยกุญแจส่วนตัวเท่านั้น
47.  Digital Signatures หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง กลุ่มของตัวเลขกลุ่มหนึ่งซึ่งแสดงความมีตัวตนของบุคคลคนหนึ่ง (กลุ่มตัวเลขนี้จะมีเลขที่ไม่ซ้ำกับใครเลย) ซึ่งจะใช้ในการแนบติดไปกับเอกสารใดๆ ก็ตามในรูปแบบของไฟล์ เจตนาก็เพื่อเป็นการยืนยันหรือรับรองข้อความที่ปรากฎอยู่ในไฟล์นั้นๆ ทำนองเดียวกับการลงลายมือชื่อด้วยหมึกลงบนกระดาษ เพื่อเป็นการยืนยันหรือรับรองข้อความที่ปรากฎอยู่บนกระดาษนั่นเอง
48. Decryption คือ การถอดรหัสข้อมูล อย่างข้อมูลที่ถูกใส่รหัสไว้ ซึ่งข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถอ่านได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องนำข้อมูลเหล่านั้นมาถอดรหัส เพื่อให้สามารถอ่านได้
49. Encryption คือ  การเข้ารหัส หรือการแปลงข้อมูลให้เป็นรหัสลับ ไม่ให้ข้อมูลความลับนี้ถูกอ่านได้ โดยบุคคลอื่น แต่ให้ถูกอ่านได้โดยบุคคลที่เราต้องการให้อ่านได้เท่านั้น โดยการนำเอาข้อความเดิมที่สามารถอ่านได้ (Plain text,Clear Text) มาทำการเข้ารหัสก่อน เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อความเดิมให้ไปเป็นข้อความที่เราเข้ารหัส (Ciphertext) ก่อนที่จะส่งต่อไปให้บุคคลที่เราต้องการที่จะติดต่อด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นสามารถที่จะแอบอ่านข้อความที่ส่งมาโดยที่ข้อ ความที่เราเข้ารหัสแล้วซึ่งทำได้โดยใช้โปรแกรม
50. Key pair หรือคู่กุญแจ หมายถึง ระบบการเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูล โดยผู้ส่งและผู้รับจะมีกุญแจคนละดอกที่ไม่เหมือนกัน ผู้ส่งใช้กุญแจดอกหนึ่งในการเข้ารหัสข้อมูลที่เรียกว่า กุญแจสาธารณะ (Public key) ส่วนผู้รับใช้กุญแจอีกดอกหนึ่งในการถอดรหัสข้อมูลที่เรียกว่า กุญแจส่วนตัว (Private Key) ซึ่งระบบกุญแจคู่นี้เองเป็นระบบกุญแจพื้นฐานที่นำมาประยุกต์ใช้กับระบบ PKI


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น