วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วัตถุประสงค์ของระบบเครือข่าย



วัตถุประสงค์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


                  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเข้าด้วยกัน โดยมีคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่เป็นศูนย์กลาง และมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ในการใช้โปรแกรมซอฟแวร์และข้อมูลร่วมกัน ซึ่งอยู่ บนคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง และเพื่อปรับปรุงข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง ผ่านคอมพิวเตอร์ใดๆในเครือข่ายคอมพิวเตอร์


ประยชน์ของระบบเครือข่าย

1. เพื่อปรับปรุงข้อมูลโดยผู้ใช้คอมพิวเตอร์ผ่านคอมพิวเตอร์ใดๆบนเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งอยู่ต่างสถานที่กัน เช่น การจองที่นั่งบน เครื่องบิน โดย ผ่านทางคอมพิวเตอร์

2. เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการแบ่งการใช้ไฟล์ข้อมูล โปรแกรมและ เครื่องพิมพ์ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้บนคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งใน เครือข่ายคอมพิวเตอร์

ความหมายของเครือข่าย

เครือข่ายคอมพิวเตอร์


การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้
              สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม
           การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสือสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ




ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มอุปกรณ์รอบข้างเชื่อมโยงเป็นระบบ


                เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฎิบัติการร่วมกัน ซึ่งหมายถึงการให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต่ออยู่บนเครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมดในลักษณะที่ประสานรวมกัน โดยผู้ใช้เห็นเสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน จึงเป็นวิธีการในการนำเอาอุปกรณ์ต่างชนิดจำนวนมาก มารวมกันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อ ต่างบริษัท ก็ได้

รหัสแทนข้อมูล

รหัสแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์


รหัสแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยหลักการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่แทนสัญญาณทางไฟฟ้าด้วยตัวเลขศูนย์และหนึ่งซี่งเป็นตัวเลขในระบบเลขฐานสอง แต่ละหลักเรียกว่าบิตและเมื่อนำตัวเลขหลายๆ บิตมาเรียงกัน จะใช้สร้างหัสแทนความหมายจำนวน หรือตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์ ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยได้ และเพื่อให้การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เป็นไนในแนวเดียวกัน จึงมีการกำหนดมาตรฐานรหัสตัวเลขในระบบเลขฐานสองสำหรับแทนสัญลักษณ์เหล่านี้ รหัสมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากมีสองกลุ่มคือ

รหัสแอสกี

รหัสแอสกีเป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากในระบบคอมพิวเตอร์ส่วยใหญ่เป็นคำย่อมาจากAmerican Standard Code for Information Interchangeเป็นรหัส 8บิต แทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้256 ตัว เมื่อใช้แทนตัวอักษรภาษาอังกฤษแล้วยังมีเหลืออยู่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือสมอได้กำหนดรหัสภาษาไทยเพิ่มลงลงไปเพื่อให้ใช้งานรวมกันได้

รหัสเอ็บซีดิก

รหัสเอ็บซีดิก(EBCDIC) เป็นคำย่อมาจากExtended Binary Coded Decimal Interchange Code พัฒนาและใช้งานโดยบริษัทไอบีเอ็ม เครื่องคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมของไอบีเอ็มยังคงใช้รหัสนี้



การแทนข้อมูลในหน่วยความจำ

หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์เป็นที่เก็บข้อมูลและคำสั่งในขณะประมวลผลการเก็บข้อมูลในหน่วยความจำเป็นการเก็บรหัสตัวเลข ฐานสอง ข้อมูลมที่ใช้ในการประมวลผลทั้งตัวเลขหรือตัวอักษรจะได้รัการแทนเป็นตัวเลขฐานสอง แล้วเก็บไว้ในหน่วยความจำ เช่น ข้อความว่าBANGKOK เก็บในคอนพิวเตอร์จะแทนเป็นรหัสเรียงกันไปดังนี้

หน่วยความจำของไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้ มีขนาดความกว้าง 8 บิตและเก็บข้อมูลเรียงกันไป โดยมีการกำหนดตำแหน่งซึ่งเรียกว่า เลขที่อยู่ (address) เพื่อให้ข้อมูลที่เก็บมีความถูกต้อง การเขียนหรืออ่านทุกครั้งจึงต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล วิธีที่ง่ายและนิยมใช้กันคือการเพิ่มอีก 1 บิต เพื่อทำให้เลขหนึ่งเป็นจำนวนคู่ เรียกว่าพาริตีคู่ (eren parity)

การแทนคำสั่งในหน่วยความจำ

หน่วยควบคุมของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในซีพียู ทำการอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความจำมาแปลความหมายและกระทำตาม คำสั่ง คอมพิวเตอร์พื้นฐานที่สุดเรียกว่า ภาษาเครื่อง (machine langauge) ภาษาเครื่องมีลักษณะเป็นรหัสที่ใช้ได้หลายร้อยคำสั่ง แต่ละคำสั่งจะมีความหมายเฉพาะ เช่น คำสั่งนำข้อมูลที่มีค่าเป็น 3 จากหน่วยความจำตำแหน่งที่ 800 มาบวกกับข้อมูลที่มีค่าเป็น 5 ในตำแหน่งที่ 8001 ผลลัพธ์ที่ได้ให้เก็บไว้ในหน่วยความจำตำแหน่งที่ 8002 เมื่อเขียนคำสั่งเป็นภาษาเครื่องจะมีลักษณะเป็นตัวเลขฐานสองเรียงต่อกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งเข้าใจได้ยากจึงมักใช้ตัวอักษรแทนรหัสภาษาเคื่องเหล่านี้ดังตัวอย่าง

LD A, (8000) 00111010,00000000,10000000

LD B,A 01000111

LD B, (8001) 00111010,00000000,10000000

ADD A,B 10000000

LD (8002) 00110010,00000010,10000


           รหัสภาษาเครื่องเมื่อเก็บอยู่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะเรียงต่อกันไป สมมุติให้ส่วนของโปแกรมเก็บในหน่วยความจำตำแหน่ง เริ่มจาก 1000และข้อมูลเก็บไว้ที่ตำแหน่งเริ่มจาก 8000 ภาษาสั่งการพื้นฐานที่ใช้รหัสตัวเลขฐานสองนี้เรียกว่า ภาษาเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูต่างตระกูลกันจะมีภาษาเครื่องที่ต่างกัน เช่นเครื่องที่ ใช้ในเครื่องแมกอินทอชมีรหัสคำสั่งต่างกัน
รหัสแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์



รหัสแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยหลักการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่แทนสัญญาณทางไฟฟ้าด้วยตัวเลขศูนย์และหนึ่งซี่งเป็นตัวเลขในระบบเลขฐานสอง แต่ละหลักเรียกว่าบิตและเมื่อนำตัวเลขหลายๆ บิตมาเรียงกัน จะใช้สร้างหัสแทนความหมายจำนวน หรือตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์ ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทยได้ และเพื่อให้การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อความระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์เป็นไนในแนวเดียวกัน จึงมีการกำหนดมาตรฐานรหัสตัวเลขในระบบเลขฐานสองสำหรับแทนสัญลักษณ์เหล่านี้ รหัสมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากมีสองกลุ่มคือ


รหัสแอสกี

รหัสแอสกีเป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากในระบบคอมพิวเตอร์ส่วยใหญ่เป็นคำย่อมาจากAmerican Standard Code for Information Interchangeเป็นรหัส 8บิต แทนสัญลักษณ์ต่าง ๆ ได้256 ตัว เมื่อใช้แทนตัวอักษรภาษาอังกฤษแล้วยังมีเหลืออยู่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือสมอได้กำหนดรหัสภาษาไทยเพิ่มลงลงไปเพื่อให้ใช้งานรวมกันได้

รหัสเอ็บซีดิก

รหัสเอ็บซีดิก(EBCDIC) เป็นคำย่อมาจากExtended Binary Coded Decimal Interchange Code พัฒนาและใช้งานโดยบริษัทไอบีเอ็ม เครื่องคอมพิวเตอร์ เมนเฟรมของไอบีเอ็มยังคงใช้รหัสนี้



การแทนข้อมูลในหน่วยความจำ

หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์เป็นที่เก็บข้อมูลและคำสั่งในขณะประมวลผลการเก็บข้อมูลในหน่วยความจำเป็นการเก็บรหัสตัวเลข ฐานสอง ข้อมูลมที่ใช้ในการประมวลผลทั้งตัวเลขหรือตัวอักษรจะได้รัการแทนเป็นตัวเลขฐานสอง แล้วเก็บไว้ในหน่วยความจำ เช่น ข้อความว่าBANGKOK เก็บในคอนพิวเตอร์จะแทนเป็นรหัสเรียงกันไปดังนี้

หน่วยความจำของไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้ มีขนาดความกว้าง 8 บิตและเก็บข้อมูลเรียงกันไป โดยมีการกำหนดตำแหน่งซึ่งเรียกว่า เลขที่อยู่ (address) เพื่อให้ข้อมูลที่เก็บมีความถูกต้อง การเขียนหรืออ่านทุกครั้งจึงต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล วิธีที่ง่ายและนิยมใช้กันคือการเพิ่มอีก 1 บิต เพื่อทำให้เลขหนึ่งเป็นจำนวนคู่ เรียกว่าพาริตีคู่ (eren parity)

การแทนคำสั่งในหน่วยความจำ

หน่วยควบคุมของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในซีพียู ทำการอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความจำมาแปลความหมายและกระทำตาม คำสั่ง คอมพิวเตอร์พื้นฐานที่สุดเรียกว่า ภาษาเครื่อง (machine langauge) ภาษาเครื่องมีลักษณะเป็นรหัสที่ใช้ได้หลายร้อยคำสั่ง แต่ละคำสั่งจะมีความหมายเฉพาะ เช่น คำสั่งนำข้อมูลที่มีค่าเป็น 3 จากหน่วยความจำตำแหน่งที่ 800 มาบวกกับข้อมูลที่มีค่าเป็น 5 ในตำแหน่งที่ 8001 ผลลัพธ์ที่ได้ให้เก็บไว้ในหน่วยความจำตำแหน่งที่ 8002 เมื่อเขียนคำสั่งเป็นภาษาเครื่องจะมีลักษณะเป็นตัวเลขฐานสองเรียงต่อกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งเข้าใจได้ยากจึงมักใช้ตัวอักษรแทนรหัสภาษาเคื่องเหล่านี้ดังตัวอย่าง

LD A, (8000) 00111010,00000000,10000000

LD B,A 01000111

LD B, (8001) 00111010,00000000,10000000

ADD A,B 10000000

LD (8002) 00110010,00000010,10000000

รหัสภาษาเครื่องเมื่อเก็บอยู่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์จะมีลักษณะเรียงต่อกันไป สมมุติให้ส่วนของโปแกรมเก็บในหน่วยความจำตำแหน่ง เริ่มจาก 1000และข้อมูลเก็บไว้ที่ตำแหน่งเริ่มจาก 8000 ภาษาสั่งการพื้นฐานที่ใช้รหัสตัวเลขฐานสองนี้เรียกว่า ภาษาเครื่อง คอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูต่างตระกูลกันจะมีภาษาเครื่องที่ต่างกัน เช่นเครื่องที่ ใช้ในเครื่องแมกอินทอชมีรหัสคำสั่งต่างกัน


ออกแบบโดย นายมนตรี พรุเตย
ศึกษาอยู่มัธยมศึกษาปีที่ 4 ห้อง 3
อาจารย์ที่ปรึกษา
          นายอุทัย เซ่งอั้น

                                                                                               

สัญญาณ



การส่งสัญญาณแบบอนาลอกและแบบดิจิตอล


(Analog and Digital Transmission)

การส่งสัญญาณแบบอนาลอก

เป็นการส่งส่งสัญญาณแบบอนาลอกโดยไม่สนใจในสิ่งที่บรรจุรวมอยู่ในสัญญาณเลย สัญญาณจะแทนข้อมูลที่เป็นอนาลอก (เช่น สัญญาณเสียง) หรือข้อมูลดิจิตอล (เช่น ข้อมูล ไบนารี) สัญญาณอนาลอกที่ทำการส่งออกไปพลังงานจะอ่อนลงเรื่อย ๆ เมื่อระยะทางเพิ่มขึ้น ดังนั้นในการส่งสัญญาณอนาลอกไประยะไกล ๆ จึงต้องอาศัยเครื่องขยายเสียงสัญญาณหรือแอมปลิไฟเออร์ (Amplifier) เพื่อเพิ่มพลังงานให้กับสัญญาณ แต่ในการใช้เครื่องขยายสัญญาณจะมีการสร้างสัญญาณรบกวนขึ้น (Noise) รวมกับสัญญาณข้อมูลด้วย ยิ่งระยะทางไกลมากเท่าไร ก็ยิ่งมีสัญญาณรบกวนมากขึ้นเท่านั้น การส่งสัญญาณอนาลอกจึงต้องการวงจรกรองสัญญาณ (Filter) เพื่อกรองเอาสัญญาณรบกวนออกอีก

การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล

ส่วนในการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะสนใจทุกสิ่งทุกอย่างที่บรรจุมาในสัญญาณ เมื่อระยะทางเพิ่มมากขึ้น จะทำให้สัญญาณดิจิตอลลดทอนหรือจางหายไปได้ จึงจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ทบทวนสัญญาณหรือรีพีตเตอร์ (Repeater) เพื่อกู้คืน (Recover) รูปแบบของสัญญาณที่มีลักษณะเป็น "1" และ "0" เสียก่อน แล้วจึงส่งสัญญาณที่กู้มาใหม่ออกไปต่อไป

เราสามารถนำเอาอุปกรณ์ทบทวนสัญญาณมาใช้กับการส่งสัญญาณอนาลอกที่มีข้อมูลเป็นแบบดิจิตอลได้ เครื่องทบทวนสัญญาณจะกู้ข้อมูลดิจิตอลจากสัญญาณอนาลอกและสร้างสัญญาณขึ้นมาใหม่ แล้วลบสัญญาณอนาลอกที่ส่งมาด้วยออกไป ดังนั้นจะไม่มีสัญญาณรบกวนที่ติดมากับสัญญาณอนาลอกหลงเหลืออยู่เลย

คำถามคือว่า เราจะเลือกใช้วิธีการส่งสัญญาณข้อมูลเป็นแบบอนะล็อกหรือแบบดิจิตอลดี คำตอบ ก็ขึ้นอยู่กับว่า ระยะทางในการส่งข้อมูลนั้นใกล้หรือไกล ถ้าเป็นระยะทางใกล้ ๆ สามารถเดินสายสัญญาณดิจิตอลได้ ก็ควรจะเลือกใช้การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล ส่วนการส่งสัญญาณ ข้อมูลในระยะทางไกล ๆ การสื่อสารของไทยเรายังคงเป็นระบบอนาลอกอยู่ เช่น ระบบโทรศัพท์หรือระบบโทรเลข ดังนั้นจึงควรเลือกใช้วิธีการส่งสัญญาณข้อมูลเป็นแบบอนาลอก

แต่อย่างไรก็ตาม ในอนาคตระบบสื่อสารในบ้านเราก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอล เช่น ระบบเครือข่าย ISDN ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นการส่งสัญญาณข้อมูลต่าง ๆ ก็จะอยู่ในรูปของดิจิตอลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณเสียงหรือภาพก็ตาม


เทคนิคการสื่อสารข้อมูลดิจิตอล( Digital Data Communication Technique )

เราได้ทำการศึกษาถึงรูปแบบการส่งผ่านสัญญาณข้อมูลทั้งที่เป็นสัญญาณอนาลอกและสัญญาณดิจิตอล ลักษณะของสัญญาณข้อมูล สื่อกลางของการส่งรับข้อมูล การมอดูเลตสัญญาณและอื่น ๆ สำหรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 2 เครื่องที่เชื่อมโยงกันด้วยสายสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน โดยปกติแล้ข้อมูลจะส่งผ่านทีละ 1 บิตต่อครั้งผ่านสายสื่อสาร แต่ละบิตของข้อมูลที่ถูกส่งผ่านไปอย่างต่อเนื่องกัน อาจจะส่งไป

แบบอนุกรม (Serial) หรือ

แบบขนาน ( parallel)

เพื่อให้อัตราการส่งข้อมูลเพิ่มมากขึ้น เวลาของบิตเหล่านี้จะต้องเท่ากันทั้งทางด้านเครื่องส่งและเครื่องรับ เทคนิคที่ทำให้เวลาที่ปลายทางทั้งสองด้านพร้อมกันมี 2 วิธีคือ

วิธีแบบ อะซิงโครนัส (Asynchronization) และ

วิธีแบบ ซิงโครนัส (Synchonization)

เปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัสและแบบซิงโครนัส

ลักษณะการส่งข้อมูล

รูปแบบในการส่งข้อมูล (transmission mode)



การส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ การส่งแบบขนาน และการส่งแบบอนุกรม

การส่งแบบขนาน (parallel transmission) คือการส่งข้อมูลพร้อมกันทีละหลาย ๆ บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา โดยการส่งจะรวมบิต 0 และ 1 หลาย ๆ บิตเข้าเป็นกลุ่มจำนวน n บิต ผู้ส่งส่งครั้งละ n บิต ผู้รับจะรับครั้งละ n บิตเช่นกัน ซึ่งจะคล้ายกับเวลาที่เราพูดคุยเราจะพูดเป็นคำ ๆ ไม่พูดทีละตัวอักษร

กลไกการส่งข้อมูลแบบขนานใช้หลักการง่าย ๆ เมื่อส่งครั้งละ n บิต ต้องใ้ช้สาย n เส้น แต่ละบิตมีสายของตนเอง ในการส่งแต่ละครั้งทุกเส้นต้องใช้สัญญาณนาฬิกาอันเดียวกัน ทำให้สามารถส่งออกไปยังอุปกรณ์อื่นพร้อมกันได้



รูปแสดงการส่งข้อมูลแบบขนาน โดยให้ n=8 โดยทั่วไปแล้วปลายของสายทั้ง 2 ข้างจะถูกต่อด้วยคอนเน็กเตอร์ด้านละ 1 ตัว ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบขนานคือ ความเร็ว เพราะส่งข้อมูลได้ครั้งละ n บิต ดังนั้น ความเร็วจึงเป็น n เท่าของการส่งแบบอนุกรม แต่ข้อเสียที่สำคัญคือ ค่าใช้จ่าย ทั้งนี้เพราะต้องใช้สายจำนวน n เส้น ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอนุกรม คือการใช้ช่องทางการสื่อสารเพียง 1 ช่อง ทำให้ลดค่าใช้จ่ายลง แต่ข้อเสียคือ ความเร็วของการส่งที่ต่ำ ตัวอย่างของการส่งข้อมูลแบบอนุกรม เช่น โมเด็มจะใช้การส่งแบบอนุกรมเนื่องจากในสัญญาณโทรศัพท์มีสายสัญญาณเส้นเดียว และอีกเส้นหนึ่งเป็นสายดิน



ตัวอย่างการส่งข้อมูลแบบขนาน เช่น การส่งข้อมูลภายในระบบบัสของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องพิมพ์ (printer) เป็นต้น






การส่งข้อมูลแบบอนุกรม (serial transmission) จะใช้วิธีการส่งทีละ 1 บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ทำให้ดูเหมือนว่าบิตต่าง ๆ เรียงต่อเนื่องกันไป จากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอีกอุปกรณ์หนึ่ง ดังรูป




การส่งข้อมูลแบบอนุกรม แบ่งได้เป็น 2 แบบ ดังนี้

1. การส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส (asynchronous transmission) เป็นการส่งข้อมูลที่ผู้รับและผู้ส่งไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกัน แต่ข้อมูลที่รับต้องถูกแปลตามรูปแบบที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน เนื่องจากไม่ต้องใช้สัญญาณนาฬิกาเดียวกันทำให้ผู้รับไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าเมื่อใดจะมีข้อมูลส่งมาให้ ดังนั้นผู้ส่งจึงจำเป็นต้องแจ้งผู้รับให้ทราบว่าจะมีการส่งข้อมูลมาให้โดยการเพิ่มบิตพิเศษเข้ามาอีกหนึ่งบิต เอาไว้ก่อนหน้าบิตข้อมูล เรียกว่า บิตเริ่ม (start bit) โดยทั่วไปมักใช้บิต 0 และเพื่อให้ผู้รับทราบจุดสิ้นสุดของข้อมูลจึงต้องมีการเพิ่มบิตพิเศษอีกหนึ่งบิตเรียกว่าบิตจบ (stop bit) มักใช้บิต 1 นอกจากนี้แล้วการส่งข้อมูลแต่ละกลุ่มต้องมีช่องว่างระหว่างกลุ่ม โดยช่องว่างระหว่างไบต์อาจใช้วิธีปล่อยให้ช่องสัญญาณว่าง หรืออาจใช้กลุ่มของบิตพิเศษที่มีบิตจบก็ได้ รูปต่อไปนี้แสดงการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส ให้บิตเริ่มเป็นบิต 0 บิตจบเป็นบิต 1 และให้ช่องว่างแทนไม่มีการส่งข้อมูล (สายว่าง)

ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบอะซิงโครนัส มี 2 ประการ คือ ค่าใช้จ่ายถูกและมีประสิทธิภาพ การส่งข้อมูลแบบนี้จะนำไปใช้ในการสื่อสารที่ต้องการใช้ความเร็วไม่สูงนัก ตัวอย่างเช่น การติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องปลายทาง (terminal) ที่โดยธรรมชาติแล้วเป็นการสื่อสารแบบอะซิงโครนัส เพราะผู้ใช้จะพิมพ์ทีละ

1 ตัวอักษรจากเครื่องปลายทางไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์จึงไม่ต้องใช้ความเร็วสูงในการติดต่อสื่อสาร
2. การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส (synchronous transmission) เป็นการส่งบิต 0 และ 1 ที่ต่อเนื่องกันไปโดยไม่มีการแบ่งแยก ผู้รับต้องแยกบิตเหล่านี้ออกมาเป็นไบต์ หรือเป็นตัวอักษรเอง
จากภาพแสดงการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส ผู้ส่งทำการส่งบิตติดต่อกันยาว ๆ ถ้าผู้ส่งต้องการแบ่งช่วงกลุ่มข้อมูลก็ส่งกลุ่มบิต 0 หรือ 1 เพื่อแสดงสถานะว่าง เมื่อแต่บิตมาถึงผู้รับ ผู้ัรับจะนับจำนวนบิตแล้วจับกลุ่มของบิตให้เป็นไบต์ที่มี 8 บิต

การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสมีประสิทธิภาพสูงกว่าแบบอะซิงโครนัสมาก และทำให้มีการใช้ความสามารถของสายสื่อสารได้เกือบทั้งหมด ข้อดีของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส คือความเร็วในการส่งข้อมูล ทั้งนี้เพราะไม่มีบิตพิเศษหรือช่องว่างที่ไม่ได้ถูกนำไปใช้เมื่อถึงผู้รับ จึงทำให้ความเร็วของการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัสเร็วกว่าแบบอะซิงโครนัส ด้วยเหตุนี้จึงมีการนำไปใช้งานที่ต้องการความเร็วสูง เช่น การส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
รูปแบบในการส่งข้อมูล (transmission mode)




การส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย สามารถทำได้ 2 ลักษณะ คือ การส่งแบบขนาน และการส่งแบบอนุกรม

การส่งแบบขนาน (parallel transmission) คือการส่งข้อมูลพร้อมกันทีละหลาย ๆ บิตในหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา โดยการส่งจะรวมบิต 0 และ 1 หลาย ๆ บิตเข้าเป็นกลุ่มจำนวน n บิต ผู้ส่งส่งครั้งละ n บิต ผู้รับจะรับครั้งละ n บิตเช่นกัน ซึ่งจะคล้ายกับเวลาที่เราพูดคุยเราจะพูดเป็นคำ ๆ ไม่พูดทีละตัวอักษร

กลไกการส่งข้อมูลแบบขนานใช้หลักการง่าย ๆ เมื่อส่งครั้งละ n บิต ต้องใ้ช้สาย n เส้น แต่ละบิตมีสายของตนเอง ในการส่งแต่ละครั้งทุกเส้นต้องใช้สัญญาณนาฬิกาอันเดียวกัน ทำให้สามารถส่งออกไปยังอุปกรณ์อื่นพร้อมกันได้


วิธีการรับส่งข้อมูล

1.สัญญาณ (signal) เนื่องจากอุปกรณ์ที่จะทำการสื่อสารข้อมูลกันเป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้า โดยสัญญาณทางไฟฟ้ามีอยู่สองรูปแบบคือสัญญาณอนาลอก (analog) และสัญญาณแบบดิจิตอล (digital)

- สัญญาณอนาลอก คือสัญญาณทีมีความต่อเนื่องตลอดเวลา โดยสัญญาณนี้จะอยู่ในความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง

- สัญญาณดิจิตอล คือสัญญาณที่มีค่าไม่ต่อเนื่อง ลักษณะของสัญญาณนี้มีอยู่สองระดับถูกแทนเป็นระดับสัญญาณสูง หรือลอจิกสูง กับระดับสัญญาณต่ำ หรือลอจิกต่ำ

2. รหัสแทนข้อมูล (data code)การเก็บข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะถูกเก็บอยู่ในรูปเลขฐานสองไม่ว่าจะเป็นตัวเลข หรือ อักขระข้อมูลต่างๆจะถูกเก็บอยู่ในรูปรหัสเลขฐานสองที่แทนด้วยค่า "0" และค่า "1" ทั้งสิ้น โดยระบบจะนำค่าลอจิก 0 และลอจิก 1 เหล่านี้มาจัดกลุ่มกัน เรียกว่า รหัสแทนข้อมูล รหัสที่นิยมใชกันในปัจจุบัน ได้แก่

- รหัสแอสกี (ascll code)

- รหัสเอ็บซีดิก (ebcdic code)

- รหัสยูนิโค๊ด (unicode)


3. การรับส่งข้อมูล (Data transmission)

การส่งข้อมูล หรือ Data transmission คือการขนส่งข้อมุลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งด้วยวิธีการต่างๆ


4.ลักษณะการส่งข้อมูล

สามารถแบ่งการส่งข้อมูลออกตามลักษณะการส่งข้อมูลได้ 2 แบบคือ

1.การส่งข้อมุลแบบอนุกรม เป็นการส่งข้อมูลทีละบิต (1 หรือ 0 ) เช่น ข้อมูล 1 ตัวอักษร มี 8 บิต แต่จะต้องส่ง 9 บิต คือ เพิ่มบิตที่ใช้ตรวจสอบข้อมูล

2.การส่งข้อมูลแบบขนาน เป็นการส่งข้อมูลทีละชุด ผ่านสายตัวนำหลายเส้นในคราวเดียว เช่น การส่งเป็นไบต์ (1 byte=8 bit) จะใช้สาย 8 เส้นส่งข้อมูลพร้อมกันเป็นชุดๆ ต่อเนื่องกันไป จะมีความเร้วในการส่งที่สูงกว่าแบบอนุกรม



5.วิธีการส่งข้อมูล

สามารถแบ่งการส่งข้อมูลออกเป็น 2 วิธี

1.การส่งข้อมูลแบบอซิงโครนัส เป็นการส่งข้อมูลแบบไม่เป็นจังหวะ โดยจะมีบิตเริ่มและบิตจบอยู่ครอบหน้าหลังของข้อมูล เพื่อบอกให้ผู้รับได้รู้ว่าจะมีการเริ่มต้นส่งข้อมูลมาแล้ว และบอกว่าการส่งข้อมูลได้สิ้นสุดลงแล้ว เช่น ข้อมูล1ตัวอักษรมี8บิตแต่ต้องส่ง10บิตโดย2บิตที่เพิ่มขึ้นมาจะเป็นบิตเริ่มต้นและบิตสิ้นสุด เช่น 1 0100 0001 0 เป็นต้น

2.การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส เป็นการส่งข้อมูลแบบเป็นจังหวะ ตามสัญญาณอนาฬิกา โดยสัญญาณนาฬิกาจะเป็นตัวควบคุมจังหวะ การส่งข้อมูลแบบนี้จะไม่มีการใช้บิตเริ่ม บิตจบ เหมือนอซิงโครนัส จะมีก็เฉพาะบิตที่ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเท่านั้น ซึ่งการไม่มีบิตเริ่มและบิตจบ ทำให้ปริมาณข้อมูลมีน้อยลง และสามารถประหยัดเวลาในการรับส่งได้



สรุป


การส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ข้อมูลที่จะส่งอยู่ในรูปของสัญญาณทางไฟฟ้า ไม่ได้อยู่ในรูปของตัวอักษรที่อ่านได้ โดยการส่งข้อมูลมีทั้งการส่งข้อมูลแบบขนานและการส่งข้อมูลแบบอนุกรม



ระบบซิงโครนัส


( 1 ) การซิงโครโครไนซ์บิตและการซิงโครไนซ์บล็อก

เมื่อสัญญาณข้อมูลถูกส่งผ่านไปตามสายส่งสัญาญาณ เข้าสู่ DTE ปลายทาง สิ่งที่สำคัญก่อนอื่นก็คือ
อุปกรณ์ปลายทางจะต้องสามารถสัญญาณไบนารีหรือบิตซึ่งเป็นสัญญาณพื้นฐานที่สุดนี้ให้ได้อย่างถูกต้องตามจังหวะที่ส่งมา เสียก่อน   การที่อุปกรณ์ปลายทางสามารถรับส่งอุปกรณืไบนารีได้ถูกต้องตามจัหวะนี้เรียกว่า การซิงโครไนซ์บิต    เมื่ออุปกรณ์ปลายทางสามารถรับส่งบิตต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องแล้ว อุปกรณ์ปลายทางก็ยังจำเป็นต้องรู้ว่าสัญญาณที่รับมานั้น สำหรับสหัสแต่ละตัวมีการเริ่มต้นและสิ้นสุดที่ใหนเรียกว่าการซิงโครไนซ์บล็อก    วิธีง่าย ๆ ที่จะทำให้มีการซิงโครไนซ์บิต และการซิงโครไนซ์บล็อกนั้น ทำได้โดยการส่งสัญญาณไทมิ่งไปยังสายอีกเส้นหนึ่งขนานไปกับสายที่ส่งสัญญาณข้อมูล แต่วิธีนี้จะไม่สามารถทำได้กรณีที่ติดต่อกัน เป็นระยะไกล ๆ เพระค่าใช้จ่ายสูงมาก

( 2 ) การส่งแบบซิงโครนัสและการส่งแบบอะซิงโครนัส
วิธีส่งข้อมูลในทางปฏิบัตินั้น เมื่อแบ่งตามลักษณะการซิงโครไนซ์แล้วจะแบ่งได้เป็นการส่งแบบซิงโครนัส และการส่งแบบอะซิงโครนัส ซึ่งทั้งสองแบบนี้จะใช้วิธีแยกสัญญาณไทมิ่งจากสัญญาณข้อมูลที่รับมา    การส่งแบบอะซิงโครนัสซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับระบบที่มีการส่งข้อมูลอัตราต่ำนั้น DTE ทางด้านส่งเมื่อต้องการส่งสัญญาณรหัสออกไป ก็จะจัดสัญญาณนั้นให้อยู่ในรูปอนุกรมแล้วเติมบิตเริ่มต้น ( start bit ) ไว้ที่ด้านหน้า และเติมบิตสิ้ดสุด
           ( stop bit ) ไว้ที่ด้านหลัง แล้วส่งออกไปตามจัหวะของสัญญาณนาริกาทางด้านส่ง ส่วน DTE ทางปลายทางนั้น เมื่อรับบิตเริ่มต้นได้ก็จะทำการรับสัญญาณข้อมูลที่ส่งตามมา โดยใช้จังหวะของสัญญาณนาฬิกาของสถานีตัวเอง และจะรับสัญญาณจนกว่าจะถึงบิตสิ้นสุดแล้วจึงหยุดรับ ดังนั้นวิธีการนี้ DTE ก็จะทำการซิงโครไนซ์บิตและซิงโครไนซ์บล็อกพร้อมกันไป แต่วิธีนี้จะมีปัญหา เกิดขึ้นได้ถ้าสัญญาณรหัสที่ส่งมามีความยาวมากขึ้น เพราะนั้นหมายถึงจังหวะสัญญาณนาฬิการทางด้านส่งและด้านรับจะ
มีโอกาศเบี่ยง เบนกันไปได้มากขึ้น เพราะฉะนั้นจึงมักจะใช้ส่งสัญญาณรหัสเป็นหน่วยสั้น ๆ

รูปแบบการสื่อสารข้อมูล


รูปแบบการสื่อสารข้อมูล (Communication Modes)




การสื่อสารระหว่างเครื่องนั้นจะมีโหมดหลักๆ อยู่ 3 โหมด คือ Unicast, Broadcast และ Multicast



Unicast

        ในโหมดการสื่อสารแบบ Unicast เป็นโหมดการรับส่งข้อมูลจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดหนึ่งในลักษณะ 1 ต่อ 1 หรือเรียกว่า One-to-One ในการส่งลักษณะนี้ ตัวค้นหาเส้นทาง (Router) ใช้โพรโทคอล ในการค้นหาเส้นทางระหว่างโหนด เช่น Routing Internet Protocol version 2 (RIP) [7], Open Shortest Path Finding version 2 (OSPF) [9] เป็นต้น เนื่องจากการสื่อสารแบบ Unicast เป็นการส่งข้อมูลระหว่างโหนดแบบง่าย ๆ จึงไม่สามารถรองรับการส่งข้อมูลระหว่างโหนดได้เมื่อมีจำนวนโหนดในการรับส่งเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการส่งข้อมูลในเครือข่ายมากเกินไป (Network Load)



Broadcast

       ในโหมดการสื่อสารแบบ Broadcast นั้นเป็นการส่งข้อมูลจากโหนดต้นทางหนึ่งโหนดไปยังโหนดปลายทางทุกโหนดที่ติดต่ออยู่ในลักษณะของการแพร่กระจายข้อมูล แบบ 1 ต่อ ทั้งหมด หรือเรียกว่า One-to-All ซึ่งการแพร่ข้อมูลแบบส่งไปยังโหนดทุกโหนดนั้น จะต้องมีการประมวลผลข้อมูลที่โหนดปลายทาง ส่วนโหนดที่ไม่ต้องการรับข้อมูลนั้นก็จะได้รับข้อมูลไปด้วย แต่ต้องทิ้งข้อมูลที่ได้รับมา เป็นการสูญเสียความสามารถในการประมวลผลไป อีกทั้งยังทำให้มีปริมาณข้อมูลส่งอยู่ในเครือข่ายจำนวนมากโดยเปล่าประโยชน์ และสามารถเกิดเป็นปัญหา พายุข้อมูล (Broadcast storm) ได้ การสื่อสารแบบ Broadcast นี้ปัจจุบันมีการใช้งานอยู่เฉพาะใน LAN เท่านั้น เนื่องจากเป็นการยากในการหาเส้นทางเมื่อส่งออก WAN (Wide Area Network) ดังนั้นจึงใช้เฉพาะใน LAN ซึ่งจัดการได้ดีง่ายกว่าบน WAN



Multicast

         ในโหมดการสื่อสารข้อมูลแบบ Multicast เป็นการส่งข้อมูลจากโหนดต้นทางหนึ่งไปยังกลุ่มของโหนดปลายทางเฉพาะกลุ่มที่มีการกำหนดแบบ 1 ต่อกลุ่มเฉพาะ หรือ One-to-N ซึ่ง N ในที่นี้อยู่ตั้งแต่ 0 ถึง ทั้งหมด การส่งข้อมูลจะส่งไปยังเฉพาะกลุ่มที่ต้องการรับข้อมูลเท่านั้น การส่งข้อมูลแบบนี้จะแตกต่างจาก Unicast และ Broadcast มาก คือ ข้อมูลจะถูกส่งจากต้นทางเพียงแพ็กเก็ต (Packet) เดียวและจะถูกส่งต่อโดยตัวค้นหาเส้นทาง (Router) จนถึงกลุ่มเครือข่ายปลายทาง และจะส่งแพ็กเก็ต (Packet) ข้อมูลไปยังเครื่องในกลุ่มเฉพาะ (Multicast Group) ที่กำหนด โดยจะทำการคัดลอกแพ็กเก็ตข้อมูลแล้วส่งให้แก่โหนดปลายทางทุกโหนดที่ต้องการ



*Source : Puangpronpitag S. Design and Performance Evaluation of Multicast Congestion Control for the Internet [Ph.D. Thesis in Computer Network]. LEEDS: School of Computing. University of Leeds; 2003

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การสื่อสารข้อมูล (Data Communication)

การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำให้ข้อมูลบางส่วนเสียหาย หรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทางในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวน เหล่านี้ โดยการพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้ 1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน 2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใด ที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง
3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง 4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้ 5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน 6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์ มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
ข่ายการสื่อสารข้อมูล หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)
องค์ประกอบพื้นฐาน
หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)
วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ
ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล 1) การจัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บซึ่อยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึกที่มีความหนาแน่นสูงแผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ในอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะส่งข้อมูล 200 หน้าได้ในเวลา 40 นาที โดยไม่ต้องเสียเวลานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก 2) ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติวิธีส่งข้อมูลด้วยสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งด้วยระบบดิจิตอล วิธีการส่งข้อมูลนั้นมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้ และพยายามหาวิธีแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่ หรือกรณีที่ผิดพลาดไม่มากนัก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้ 3) ความเร็วของการทำงาน โดยปกติสัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่ง ไปยังอีกซีกโลกหนึ่ง หรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้รวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายยิ่งขึ้น เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจองที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที 4) ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูล ทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลประหยัดขึ้น เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น สามารถส่งข้อมูลให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้

กลับเมนูหลัก

การสื่อสารข้อมูล