วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วิธีการรับส่งข้อมูล

1.สัญญาณ (signal) เนื่องจากอุปกรณ์ที่จะทำการสื่อสารข้อมูลกันเป็นอุปกรณ์ทางไฟฟ้า โดยสัญญาณทางไฟฟ้ามีอยู่สองรูปแบบคือสัญญาณอนาลอก (analog) และสัญญาณแบบดิจิตอล (digital)

- สัญญาณอนาลอก คือสัญญาณทีมีความต่อเนื่องตลอดเวลา โดยสัญญาณนี้จะอยู่ในความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง

- สัญญาณดิจิตอล คือสัญญาณที่มีค่าไม่ต่อเนื่อง ลักษณะของสัญญาณนี้มีอยู่สองระดับถูกแทนเป็นระดับสัญญาณสูง หรือลอจิกสูง กับระดับสัญญาณต่ำ หรือลอจิกต่ำ

2. รหัสแทนข้อมูล (data code)การเก็บข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะถูกเก็บอยู่ในรูปเลขฐานสองไม่ว่าจะเป็นตัวเลข หรือ อักขระข้อมูลต่างๆจะถูกเก็บอยู่ในรูปรหัสเลขฐานสองที่แทนด้วยค่า "0" และค่า "1" ทั้งสิ้น โดยระบบจะนำค่าลอจิก 0 และลอจิก 1 เหล่านี้มาจัดกลุ่มกัน เรียกว่า รหัสแทนข้อมูล รหัสที่นิยมใชกันในปัจจุบัน ได้แก่

- รหัสแอสกี (ascll code)

- รหัสเอ็บซีดิก (ebcdic code)

- รหัสยูนิโค๊ด (unicode)


3. การรับส่งข้อมูล (Data transmission)

การส่งข้อมูล หรือ Data transmission คือการขนส่งข้อมุลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งด้วยวิธีการต่างๆ


4.ลักษณะการส่งข้อมูล

สามารถแบ่งการส่งข้อมูลออกตามลักษณะการส่งข้อมูลได้ 2 แบบคือ

1.การส่งข้อมุลแบบอนุกรม เป็นการส่งข้อมูลทีละบิต (1 หรือ 0 ) เช่น ข้อมูล 1 ตัวอักษร มี 8 บิต แต่จะต้องส่ง 9 บิต คือ เพิ่มบิตที่ใช้ตรวจสอบข้อมูล

2.การส่งข้อมูลแบบขนาน เป็นการส่งข้อมูลทีละชุด ผ่านสายตัวนำหลายเส้นในคราวเดียว เช่น การส่งเป็นไบต์ (1 byte=8 bit) จะใช้สาย 8 เส้นส่งข้อมูลพร้อมกันเป็นชุดๆ ต่อเนื่องกันไป จะมีความเร้วในการส่งที่สูงกว่าแบบอนุกรม



5.วิธีการส่งข้อมูล

สามารถแบ่งการส่งข้อมูลออกเป็น 2 วิธี

1.การส่งข้อมูลแบบอซิงโครนัส เป็นการส่งข้อมูลแบบไม่เป็นจังหวะ โดยจะมีบิตเริ่มและบิตจบอยู่ครอบหน้าหลังของข้อมูล เพื่อบอกให้ผู้รับได้รู้ว่าจะมีการเริ่มต้นส่งข้อมูลมาแล้ว และบอกว่าการส่งข้อมูลได้สิ้นสุดลงแล้ว เช่น ข้อมูล1ตัวอักษรมี8บิตแต่ต้องส่ง10บิตโดย2บิตที่เพิ่มขึ้นมาจะเป็นบิตเริ่มต้นและบิตสิ้นสุด เช่น 1 0100 0001 0 เป็นต้น

2.การส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส เป็นการส่งข้อมูลแบบเป็นจังหวะ ตามสัญญาณอนาฬิกา โดยสัญญาณนาฬิกาจะเป็นตัวควบคุมจังหวะ การส่งข้อมูลแบบนี้จะไม่มีการใช้บิตเริ่ม บิตจบ เหมือนอซิงโครนัส จะมีก็เฉพาะบิตที่ใช้ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลเท่านั้น ซึ่งการไม่มีบิตเริ่มและบิตจบ ทำให้ปริมาณข้อมูลมีน้อยลง และสามารถประหยัดเวลาในการรับส่งได้



สรุป


การส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ข้อมูลที่จะส่งอยู่ในรูปของสัญญาณทางไฟฟ้า ไม่ได้อยู่ในรูปของตัวอักษรที่อ่านได้ โดยการส่งข้อมูลมีทั้งการส่งข้อมูลแบบขนานและการส่งข้อมูลแบบอนุกรม



ระบบซิงโครนัส


( 1 ) การซิงโครโครไนซ์บิตและการซิงโครไนซ์บล็อก

เมื่อสัญญาณข้อมูลถูกส่งผ่านไปตามสายส่งสัญาญาณ เข้าสู่ DTE ปลายทาง สิ่งที่สำคัญก่อนอื่นก็คือ
อุปกรณ์ปลายทางจะต้องสามารถสัญญาณไบนารีหรือบิตซึ่งเป็นสัญญาณพื้นฐานที่สุดนี้ให้ได้อย่างถูกต้องตามจังหวะที่ส่งมา เสียก่อน   การที่อุปกรณ์ปลายทางสามารถรับส่งอุปกรณืไบนารีได้ถูกต้องตามจัหวะนี้เรียกว่า การซิงโครไนซ์บิต    เมื่ออุปกรณ์ปลายทางสามารถรับส่งบิตต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องแล้ว อุปกรณ์ปลายทางก็ยังจำเป็นต้องรู้ว่าสัญญาณที่รับมานั้น สำหรับสหัสแต่ละตัวมีการเริ่มต้นและสิ้นสุดที่ใหนเรียกว่าการซิงโครไนซ์บล็อก    วิธีง่าย ๆ ที่จะทำให้มีการซิงโครไนซ์บิต และการซิงโครไนซ์บล็อกนั้น ทำได้โดยการส่งสัญญาณไทมิ่งไปยังสายอีกเส้นหนึ่งขนานไปกับสายที่ส่งสัญญาณข้อมูล แต่วิธีนี้จะไม่สามารถทำได้กรณีที่ติดต่อกัน เป็นระยะไกล ๆ เพระค่าใช้จ่ายสูงมาก

( 2 ) การส่งแบบซิงโครนัสและการส่งแบบอะซิงโครนัส
วิธีส่งข้อมูลในทางปฏิบัตินั้น เมื่อแบ่งตามลักษณะการซิงโครไนซ์แล้วจะแบ่งได้เป็นการส่งแบบซิงโครนัส และการส่งแบบอะซิงโครนัส ซึ่งทั้งสองแบบนี้จะใช้วิธีแยกสัญญาณไทมิ่งจากสัญญาณข้อมูลที่รับมา    การส่งแบบอะซิงโครนัสซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับระบบที่มีการส่งข้อมูลอัตราต่ำนั้น DTE ทางด้านส่งเมื่อต้องการส่งสัญญาณรหัสออกไป ก็จะจัดสัญญาณนั้นให้อยู่ในรูปอนุกรมแล้วเติมบิตเริ่มต้น ( start bit ) ไว้ที่ด้านหน้า และเติมบิตสิ้ดสุด
           ( stop bit ) ไว้ที่ด้านหลัง แล้วส่งออกไปตามจัหวะของสัญญาณนาริกาทางด้านส่ง ส่วน DTE ทางปลายทางนั้น เมื่อรับบิตเริ่มต้นได้ก็จะทำการรับสัญญาณข้อมูลที่ส่งตามมา โดยใช้จังหวะของสัญญาณนาฬิกาของสถานีตัวเอง และจะรับสัญญาณจนกว่าจะถึงบิตสิ้นสุดแล้วจึงหยุดรับ ดังนั้นวิธีการนี้ DTE ก็จะทำการซิงโครไนซ์บิตและซิงโครไนซ์บล็อกพร้อมกันไป แต่วิธีนี้จะมีปัญหา เกิดขึ้นได้ถ้าสัญญาณรหัสที่ส่งมามีความยาวมากขึ้น เพราะนั้นหมายถึงจังหวะสัญญาณนาฬิการทางด้านส่งและด้านรับจะ
มีโอกาศเบี่ยง เบนกันไปได้มากขึ้น เพราะฉะนั้นจึงมักจะใช้ส่งสัญญาณรหัสเป็นหน่วยสั้น ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น